Article บทความน่ารู้

บทความ ความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ อุปกรณ์ห้องปฏิบัติการ และอุปกรณ์วัดค่าสิ่งแวดล้อม

Fume Hood และ Ductless Fume Hood มีความแตกต่างกันอย่างไร

บางท่านอาจมีความสงสัยว่า Fume Hood (ตู้ดูดควัน ตู้ดูดควันสารเคมี หรือ ตู้ดูดไปสารเคมี) และ Ductless Fume Hood มีความแตกต่างกันอย่างไร ใช้งานแตกต่างกันหรือไม่ เป็นเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ก่อนที่จะได้ซื้อ ขาย จำหน่าย หาราคาต่อไป

Fume Hood และ Ductless Fume Hood มีความแตกต่างกันอย่างไร วันนี้เรามาไขข้อสงสัยกันค่ะ

Fume Hood และ Ductless Fume Hood มีความแตกต่างกันค่ะ ทั้ง 2 แบบมีจุดประสงค์ในการใช้งานเดียวกันคือ ใช้ดูดไอสารเคมี ความร้อน กลิ่นฉุนรุนแรง ให้ไม่สัมผัสกับผู้ใช้งานป้องกันการเกิดอันตรายไม่ให้มาสัมผัสผู้ใช้งาน

Fume Hood เหมาะกับการใช้งานในระยะยาว ใช้งานได้ครอบคลุมหลายรูปแบบ ใช้ดูดสารเคมี ไอระเหย ความร้อน กลิ่น กรด ทุกประเภท ในการติดตั้งตู้ Fume Hood จะต้องมีการเจาะผนังเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 8 นิ้ว เพื่อเดินท่อที่ใช้ระบายอากาศด้านบนตู้ ออกสู่อากาศภายนอกโดยตรง เราจะมี Scrubber มากั้นระหว่างท่อเพื่อบำบัดอากาศขั้นตอนหนึ่งก่อนปล่อยอากาศสู่ชั้นบรรยากาศก็ได้ ดังนั้นอากาศหน้าตู้จะถูกดูดออกโดยตรง

Ductless Fume Hood  มีข้อจำกัดในการใช้งาน Ductless Fume Hood  จะใช้งานในพื้นที่ที่มีจำกัดไม่สามารถเดินท่อออกสู่อากาศภายนอกได้ เช่น อาคารสูง เป็นต้น  และเหมาะใช้ในงานสารเคมี  กลิ่น ที่ไม่รุนแรงมาก โดยระบบการทำงานอย่างคร่าวๆ คือ อากาศหน้าตู้จะถูกดูดขึ้นไปผ่านยังชั้นกรอง และอากาศจะออกสู่ด้านนอกตู้ซึ่งอยู่ภายในห้องนั้นเอง และนี่คือข้อจำกัดของ Ductless Fume Hood

Fume Hood

Fume Hood

Ductless Fume Hood

Ductless Fume Hood

 


สินค้าแนะนำ

มาตรฐานคุณภาพน้ำประปา

มาตรฐานคุณภาพน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาค

มาตรฐานคุณภาพน้ำประปา

มาตรฐานคุณภาพน้ำประปา

รายการ มาตรฐานน้ำประปา
1.คุณลักษณะทางกายภาพ
สี (colour) , Pt-Co unit 15
รส (taste) ไม่เป็นที่น่ารังเกียจ
กลิ่น (odour) ไม่เป็นที่น่ารังเกียจ
ความขุ่น (turbidity) , NTU 5
ความเป็นกรด-ด่าง (pH range) 6.5-8.5
2.คุณลักษณะทางเคมี (mg/l)
ปริมาณสารที่ละลายทั้งหมด (total dissolved solids) 600
เหล็ก ( Fe ) 0.3
แมงกานีส ( Mn ) 0.4
ทองแดง ( Cu ) 2.0
สังกะสี ( Zn ) 3.0
ความกระด้างทั้งหมด (total hardness) as CaCO3 300
ซัลเฟต ( SO4) 250
คลอไรด์ ( Cl ) 250
ฟลูออไรด์ ( F) 1.0
ไนเทรต ( NO3) as NO3 50
  1. คุณลักษณะทางสารเป็นพิษ : โลหะหนัก ( mg/l )
ปรอท ( Hg ) 0.001
ตะกั่ว ( Pb) 0.01
สารหนู ( As ) 0.01
ซีลีเนี่ยม ( Se ) 0.01
โครเมียม ( Cr ) 0.05
ไซยาไนด์ ( CN ) 0.07
แคดเมียม ( Cd ) 0.003
แบเรียม ( Ba ) 0.7
  1. คุณลักษณะทางจุลชีววิทยา (ต่อ 100 ml.)
โคลิฟอร์มแบคทีเรีย (Total Coliform Bacteria ) ไม่พบ
อี โคไล (E. coli) ไม่พบ
สแตฟฟิลโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) ไม่พบ
แซลโมเนลลา (Salmonella) ไม่พบ
คลอสทริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ ( Clostridium perfringens) ไม่พบ
หมายเหตุ ผวก.ให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2550 ต่อท้ายบันทึกข้อความของ กคน. ที่ มท 55702-2/258 ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2550
คุณภาพน้ำที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงกุ้งทะเล

คุณภาพน้ำที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงกุ้งทะเล

1. ความเค็ม (Salinity) เป็นดัชนีวัดปริมาณความเข้มข้นของอิออน (ion) ที่ละลายในน้ำ แสดงหน่วยเป็น หนึ่งส่วนในพันส่วน (ppt) ค่าความเค็มของน้ำทะเลจะขึ้นอยู่กับปริมาณอิออนที่สำคัญ 7 ชนิด ได้แก่ โซเดียม (Sodium) โปแตสเซียม (Potassium) แคลเซียม (Calcium) แมกนีเซียม (Magnesium) คลอไรด์ (Chloride) ซัลเฟต (Sufate) และไบคาร์บอเนต (Bicarbonate) ในน้ำทะเลทั่วไปจะมีความเค็มประมาณ 34 ppt ส่วนในบริเวณปากแม่น้ำหรือน้ำกร่อยมีค่าอยู่ระหว่าง 2-30 ppt ขึ้นอยู่กับระยะทางจากปากแม่น้ำ และปริมาณน้ำจืดที่ไหลลงมาในบริเวณนี้ ในการเลี้ยงกุ้งทะเลความมีความเค็มอยู่ระหว่าง 25-35 ppt สำหรับกุ้งกุลาดำความเค็มที่เหมาะสมอยู่ในช่วงระหว่าง 15-30 ppt ส่วนกุ้งขาวสามารถทำการเลี้ยงในช่วงความเค็ม 2-35 ppt แต่ระดับที่เหมาะสมคือ 20-25 ppt
แต่ในปัจจุบันเราพบว่าการเลี้ยงกุ้งที่ความเค็ม 3-10 ppt จะเลี้ยงกุ้งได้ง่ายเนื่องจากมีปัญหาเรื่องความเสียหายจากโรคกุ้งน้อยมากโดย เฉพาะปัญหาจากโรคแบคทีเรียเรืองแสงในบ่อกุ้งเป็นต้น เกษตรกรหลายรายจึงได้หันมาเลี้ยงกุ้งทะเลในระบบความเค็มต่ำมากขึ้น

 

คุณภาพน้ำที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงกุ้งทะเล

คุณภาพน้ำที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงกุ้งทะเล

2. อุณหภูมิ (Temperature) การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในน้ำ มีผลทางตรงและอ้อมต่อสัตว์น้ำ ในทางตรงอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียสทำให้ขบวนการเมตาบอลิซึมภายในร่างกายสัตว์เพิ่มขึ้น 10 เท่า ทำให้สัตว์มีความต้องการอาหาร ออกซิเจนเพิ่มขึ้น ส่วนทางอ้อมมีผลต่อกิจกรรมการย่อยสลายอินทรีย์สารของจุลินทรีย์ ส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำลดลง และการละลายออกซิเจนในน้ำลดลงเช่นกัน สำหรับอุณหภูมิในน้ำที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของกุ้งทะเลในเขตร้อน คือ 28-33 องศาเซลเซียส ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำอย่างรวดเร็วกุ้งจะเกิดอาการซ็อคเกร็งได้ มีลักษณะคล้ายเป็นตะคิว

3. ความโปร่งแสงของน้ำ (Transparency) เป็นค่าแสดงความสามารถให้แสงส่งผ่านลงสู่ผิวน้ำ บางครั้งเรียกว่าความขุ่น (Turbidity) แสงมีความสำคัญมากต่อกระบวนการสังเคราะห์แสง (Photosynthesis) ของแพลงก์ตอนพืชในน้ำเพื่อผลิตสารอินทรีย์ และในกระบวนการสังเคราะห์แสง จะให้ออกซิเจนออกมาเป็นผลพลอยได้ ซึ่งออกซิเจนละลายในน้ำที่เกิดขึ้นจะมีผลต่อการดำรงชีวิตของกุ้ง โดยคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) ชนิดบี จะพบในแพลงก์ตอนพืชสีเขียว และคลอโรฟิวล์ชนิดซี จะพบในแพลงก์ตอนพืชสีน้ำตาล โดยคลอโรฟิลล์เอจะมีบทบาทมากที่สุดในกระบวนการสังเคราะห์แสง
แหล่งน้ำที่มีค่าความโปร่งแสงอยู่ระหว่าง 30-60 เซนติเมตร มีความเหมาะสมสำหรับการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ

4. ปริมาณของสารแขวนลอย (Suspended solid) แหล่งเลี้ยงทะเลส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณปากแม่น้ำ หรือบริเวณน้ำกร่อย น้ำที่ใช้เลี้ยงกุ้งจะมีปริมาณของสารแขวนลอยสูง โดยเฉพาะอนุภาคดิน และสารอินทรีย์ที่เกิดจากการชะล้างพังทลายของดินจากแผ่นดิน เมื่อสูบน้ำเข้าสู่บ่อเลี้ยง และอยู่สภาพนิ่ง สารแขวนลอยจะตกตะกอนลงสู่ก้นบ่อ แต่จะกลับสู่สภาพแขวนลอยอีกครั้งมีมีการเปิดเครื่องตีน้ำในขณะเลี้ยง ปริมาณของสารแขวนลอยในน้ำจะมีความสัมพันธ์เป็นปฏิภาคส่วนกลับกับค่าความ โปร่งแสงของน้ำ ถ้ามีปริมารของแข็งแขวนลอยมากน้ำจะมีความโปร่งแสงน้อยลง ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของแพลงก์ตอนพืช เกณฑ์คุณภาพน้ำที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำปริมาณของสารแขวนลอยไม่ ควรสูงเกิน 25 มิลลิกรัมต่อลิตร

5. ปริมาณสารอินทรีย์ในน้ำ (Organic matter) ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะมีปริมาณสารอินทรีย์ที่เกิดจากการย่อยสลายของซากพืช และซากสัตว์ในเขตน้ำกร่อยจะมีการปนเปื้อนของสารอินทรีย์ จากน้ำทิ้งชุมชน เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม สารอินทรีย์ในน้ำจะถูกย่อยสลายให้กลายเป็นสารอินทรีย์โดยจุลินทรีย์สภาพมี ออกซิเจน (Aerobic) และสภาพขาดออกซิเจน (Anaerobic) โดยปกติจะวัดปริมาณสารอินทรีย์ในรูปของค่าบีโอดี (Biochemical Oxygen Demand, BOD) ซีโอดี (Chemical Oxygen Demand, COD) และทีโอซี (Total Organic Carbon, TOC) สำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำนิยมวัดปริมาณสารอินทรีย์ในรูปของบีโอดี น้ำในบ่อเลี้ยงกุ้งมีการปนเปื้อนของอินทรีย์สารสูง ส่วนใหญ่มากจากอาหารส่วนที่เหลือ สิ่งขับถ่าย และซากแพลงก์ตอน ซึ่งจะทำให้ปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำลดลง เนื่องจากกิจกรรมของจุลินทรีย์ชนิด Aerobic bacteria จะต้องใช้ออกซิเจนเพื่อการย่อยสลายสารอินทรีย์เหล่านี้

6. ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ (Dissolved oxygen, DO) ออกซิเจนเป็นปัจจัยที่นับว่ามีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต เนื่องจากสัตว์น้ำทุกชนิดจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนในขบวนการต่าง ๆ ภายในร่างกาย เพื่อการเจริญเติบโต กุ้งทะเลมีความต้องการออกซิเจนที่ละลายในน้ำตั้งแต่ 5 มิลลิกรัมออกซิเจนต่อลิตร ขึ้นไป ถือว่าเป็นสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของกุ้ง การเปลี่ยนแปลงปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำในรอบวัน ปริมาณออกซิเจนที่ละลายมีแนวโน้มสูงขึ้นตั้งแต่ 8:00 นาฬิกา ไปจนถึง 15:00 นาฬิกา ซึ่งเป็นค่าสูงสุด และมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่เวลา 18:00 นาฬิกา ไปเรื่อย ๆ จนถึง 6:00 นาฬิกา ซึ่งจะเป็นค่าต่ำสุด ปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำบริสุทธิ์ที่อุณหภูมิของน้ำ 25 องศาเซลเซียส จะมีปริมาณออกซิเจนอิ่มตัวประมาณ 8.24 มิลลิกรัมออกซิเจนต่อลิตร แต่เมื่ออุณหภูมิน้ำเพิ่มขึ้นเป็น 30 องศาเซลเซียส จะมีปริมาณออกซิเจนอิ่มตัวในน้ำ 7.54 มิลลิกรัมออกซิเจนต่อลิตร ส่วนในน้ำทะเลที่ความเค็ม 30 ppt และอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส จะมีปริมาณออกซิเจนละลายอิ่มตัวในน้ำประมาณ 6.39 มิลลิกรัมออกซิเจนต่อลิตร ถ้าอุณหภูมิของน้ำสูงขึ้นหรือค่าความเค็มเพิ่มขึ้น ปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำจะมีค่าลดลง ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำมีผลต่อการดำรงชีวิตของกุ้งมาก ถ้าปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำมีค่าต่ำกว่า 5 มิลลิกรัมออกซิเจนต่อลิตร กุ้งจะมีการเจริญเติบโตช้า กุ้งทะเลจะมีการเจริญเติบโตดีถ้ามีปริมาณออกซิเจนละลายสูงกว่า 5 มิลลิกรัมต่อลิตร ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของปริมารออกซิเจนละลายในน้ำ ได้แก่ แสงแดด การไหลเวียนของน้ำ แพลงก์ตอนพืชและสัตว์ พืชน้ำ ความโปร่งแสง ความลึกของบ่อ ชนิดและปริมาณจุลินทรีย์ สิ่งขับถ่ายของกุ้ง รวมทั้งปริมาณอาหารที่เหลือจากการกินของกุ้ง
ปัญหา การขาดออกซิเจนในบ่อเลี้ยงกุ้งทะเลจะพบในบ่อเลี้ยงกุ้งที่ปล่อยกุ้งไปใน ปริมาณมากหรือมีกุ้งติดมากแต่มีเครื่องให้อากาศไม่เพียงพอโดยเฉพาะในช่วง เดือนสุดท้าย ในบ่อที่มีกุ้งหนาแน่นเมื่อมีการให้อาหารในปริมาณที่มากในแต่ละวัน เศษอาหารที่เหลือและของเสียที่กุ้งขับถ่ายออกมามากนั้นจะมีการดึงออกซิเจนไป ใช้ในการย่อยสลายสิ่งเหล่านี้ รวมทั้งการหายใจของแพลงก์ตอนที่มีหนาแน่นและการหายใจของกุ้งที่มีขนาดใหญ่ ขึ้นในบ่อจะมีผลทำให้ออกซิเจนในตอนเช้าลดต่ำลงมากถ้ามีกุ้งในปริมาณมากและ เครื่องให้อากาศไม่เพียงพอ กุ้งอาจจะลอยตามผิวน้ำตั้งแต่ตอนกลางคืนหลังเที่ยงคืนจนถึงเช้ามืด เมื่อออกซิเจนที่ละลายในน้ำอยู่ในช่วง 1.7-2.0 ppm ปริมาณออกซิเจนที่สูงกว่าระดับนี้กุ้งจะไม่ลอย แต่พบว่าถ้าออกซิเจนต่ำกว่า 3.0 ppm กุ้งจะไม่แข็งแรง การกินอาหารจะลดต่ำลงกว่าปกติ ในช่วงที่กุ้งกำลังลอกคราบ ถ้าระดับออกซิเจนต่ำกุ้งอาจจะลอกคราบแล้วตายได้ ดังนั้นควรจะวัดค่าออกซิเจนอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำอย่างน้อยวันละครั้งใน ช่วงเช้า หรือวันละหลายๆ ครั้ง สำหรับบ่อที่มีการเลี้ยงกุ้งอย่างหนาแน่นเพื่อเป็นข้อมูล ในการเลี้ยง และเป็นแนวทางในการเลี้ยงกุ้งในรุ่นต่อๆไปการวัดค่าออกซิเจนควรจะวัดใน บริเวณที่ลึกที่สุดของบ่อ หรือก้นบ่อ เนื่องจากกุ้งทะเลจะใช้เวลาส่วนใหญ่ที่บริเวณพื้นบ่อ

7. ความเป็นกรดด่าง (pH) เป็นดัชนีแสดงความเข้มข้นของไฮโดรเจนอิออน (H+) ในน้ำ ในทางปฏิบัติจะแสดงถึงความเป็นกรด่างของน้ำ ค่า pH น้ำที่มีคุณสมบัติเป็นกรดจะมีค่า pH ต่ำกว่า 7 น้ำที่มีคุณสมบัติเป็นกลางจะมีค่า pH เป็น 7 ในแหล่งน้ำกร่อยทั่วไปมีค่า pH อยู่ระหว่าง 7-8 แพลงก์ตอนพืชส่วนใหญ่เจริญได้ดีในน้ำที่มีค่า pH อยู่ระหว่าง 8-8.2 สำหรับกุ้งทะเลจะเจริญเติบโตได้ดีเมื่อค่า pH ของน้ำมีค่าอยู่ระหว่าง 6-9 กุ้งจะมีการเจริญเติบโตช้าถ้ามีค่า pH อยู่ระหว่าง 4-6 และ 9-11 และกุ้งจะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ถ้าค่า pH มีค่าต่ำกว่า 4 และสูงกว่า 11 ค่า pH ของน้ำจะมีค่าเพิ่มขึ้นในเวลากลางวัน เนื่องจากการสังเคราะห์แสงของแพลงก์ตอนพืชในเวลากลางวัน จะทำให้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในน้ำลดลง ส่งผลความเป็นด่างสูงขึ้น และในเวลากลางคืนค่า pH ของน้ำลดลง เนื่องจากกระบวนการหายใจของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในน้ำ จะคายคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ทำให้น้ำมีความเป็นกรดมากขึ้น
น้ำ ที่ผ่านบริเวณที่ดินเป็นกรดหรือดินเปรี้ยวจะมีพีเอชต่ำ เนื่องจากความเป็นกรดที่ละลายออกมาจากเนื้อดินจะทำให้พีเอชของน้ำต่ำ โดยทั่วไปแล้วดินบริเวณป่าชายเลนมักจะเป็นดินเปริ้ยวซึ่งเกิดจากการสะสมของ ไพไรท์ซึ่งเป็นสารประกอบระหว่างเหล็กและกำมะถันในชั้นดินในสภาพที่ขาด ออกซิเจน ลักษณะดิน ส่วนมากมักจะมีการสะสมของสารอินทรีย์จากพืชต่างๆสูง ดินพวกนี้เมื่อขุดขึ้นมาสัมผัสอากาศ ไพไรท์จะถูกออกซิไดซ์เป็นกรดกำมะถัน (กรดซัลฟูริค) พีเอชของดินจะต่ำ ในบริเวณที่ดินเป็นกรดเหล่านี้เมื่อสูบน้ำเข้าไปในบ่อจะเห็นได้ชัดเจนว่าน้ำ มีสีส้มและมีตะกอนสนิมเหล็กเป็นจำนวนมากการแก้ปัญหา เหล่านี้ทำได้โดยใช้น้ำล้างบ่อหลายๆครั้งเมื่อล้างจนเพียงพอแล้วเติมน้ำเข้า บ่อให้ระดับน้ำในบ่อสูงกว่าหรือเสมอกับบ่อข้างเคียงแล้วเติมวัสดุปูน หากน้ำในบ่อมีพีเอชที่ต่ำมากแพลงก์ตอนในบ่อจะเกิดขึ้นมากเกษตรกรต้องปรับพี เอชน้ำให้ได้ค่าตอนเช้าประมาณ 6.00 น. สูงประมาณ 7.5 จะช่วยให้แพลงก์ตอนพืชเพิ่มจำนวน ได้เร็วขึ้นระหว่างการเลี้ยงต้องตรวจเช็คค่าพีเอชน้ำอยู่เสมอเมื่อพบว่าพีเอ ชน้ำเริ่มต่ำกว่า 7.5 ให้รีบเติมวัสดุปูนเพื่อดึงค่าพีเอชขึ้นมา การเปลี่ยนแปลงพีเอชของน้ำในรอบวันมากเกินไปจะมีผลทำให้กุ้งเครียดมีผลต่อการ เจริญเติบโตด้วย การแก้ปัญหาโดยการลดปริมาณแพลงก์ตอนหรือถ่ายน้ำมากขึ้นเพื่อลดความเข้มของสี น้ำ หรือในกรณีที่ค่าอัลคาไลน์ในน้ำต่ำ จำเป็นต้องมีการเติมวัสดุปูน เพื่อเพิ่มระดับอัลคาไลด์ จะทำให้พีเอชของน้ำตอนเช้าและตอนบ่ายเปลี่ยนแปลงน้อยลง ส่วนในกรณีที่พีเอชในน้ำตอนบ่ายสูงมาก เนื่องจากมีการใช้คาร์บอนไดออกไซด์ไปในการสังเคราะห์แสงมาก การเปิดเครื่องให้อากาศแบบเคล้าน้ำแทนการใช้ใบพัดตีน้ำจะทำให้การเพิ่มจำนวน ของแพลงก์ตอนไม่มากนัก ซึ่งมีผลให้พีเอชของน้ำไม่สูงจนเกินไป

8. ความเป็นด่าง (Alkalinity) เป็นค่าที่ขึ้นอยู่กับปริมารความเข้มข้นของเบส (Bases) ที่ละลายน้ำอันได้แก่ อิออนของไบคาร์บอเนต (HCO3-) และคาร์บอเนต (CO32-) มีหน่วยวัดเป็นปริมาณมิลลิกรัมต่อลิตรของแคลเซียมคาร์บอเนต (mg/l-CaCO3) ค่าความเป็นด่างที่เหมาะสำหรับการดำรงชีวิตของสัตว์ทะเลควรมีค่าในช่วง 70 -120 มิลลิกรัมต่อลิตรของแคลเซียมคาร์บอเนต ค่าดัชนีชนิดนี้มีคุณสมบัติในการควบคุมค่า pH ของน้ำให้คงที่ ค่าอัลคาไลน์ในน้ำที่เหมาะสมกับการเลี้ยงกุ้งทะเลคือ 80-150 พีพีเอ็ม โดยยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงได้ไม่เกิน 0.5 ในรอบวัน การปรับค่าความเป็นด่างมักใช้ปูนคาร์บอเนต (CaCO3) หรือโดโลไมด์ [Ca (MgCO3)2]

9. ความกระด้าง (Hardness) ค่าที่ขึ้นอยู่กับปริมาณความเข้มข้นของสารแคตไอออนที่มีประจุ 2+ (Divalent cation) ที่ ละลายในน้ำ ที่สำคัญประกอบด้วย แคลเซียมอิออน และแมกนีเซียมอิออน ค่านี้จะมีความสำคัญกับสัตว์น้ำจืดเป็นส่วนใหญ่ สำหรับกุ้งทะเลไม่ค่อยพบปัญหา เนื่องจากในน้ำทะเลจะมีปริมาณของแคลเซียมอิออน และแมกนีเซียมอิออนในปริมาณที่มากพอกับความต้องการของสัตว์ แต่สำหรับการเลี้ยงกุ้งแบบหนาแน่นปริมาณของความกระด้างอาจไม่เพียงพอต่อความ ต้องการในการนำมาใช้ในการสร้างเปลือก จำเป็นต้องเติมเพิ่ม ส่วนใหญ่เติมในรูปของดีเกลือ (MaCO3)

10. ปริมาณธาตุอาหาร (Nutrient)
10.1 แอมโมเนีย (Ammonia) ส่วนใหญ่เกิดจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของสิ่งมีชีวิตในน้ำ และกระบวนการย่อยสลาย (Decomposition) สารอินทรีย์ของจุลินทรีย์ในน้ำ แอมโมเนียที่พบในน้ำมี 2 รูป คือ อัลอิอนแอมโมเนีย (Un-ionized ammonia, NH3) และแอมโมเนียอิออน (Ammonium ion, NH4+)ความ เป็นพิษของแอมโมเนียที่มีต่อสัตว์น้ำ ส่วนใหญ่เกิดจากสัตว์น้ำไม่สามารถขับแอมโมเนียที่สะสมภายในร่างกายออกสู่ภาย นอกได้ นอกจากนี้แอมโมเนียยังสามารถทำลายเหงือกสัตว์น้ำได้อีกด้วย ส่งผลให้ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนออกซิเจนเข้าสู่ภายในร่างกายลดลง โดยปกติแล้วแอมโมเนียอิออน (NH4+ ไม่เป็นพิษต่อกุ้ง เพราะไม่สามารถซึมผ่านผนังเซลล์ได้ การเกิดแอมโมเนียทั้ง 2 รูปแบบ ขึ้นอยู่กับความสมดุลของอุณหภูมิกับ pH โดย pH จะเป็นปัจจัยสำคัญกว่าอุณหภูมิ ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ของน้ำสูงขึ้น อัลอิออนแอมโมเนียจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำปริมาณแอมโมเนียรวม (Total ammonia) ไม่ควรเกิน 1 มิลลิลกรัมไนโตรเจนต่อลิตร
เมื่อ แอมโมเนียในน้ำมีปริมาณสูงขึ้น จะมีผลให้การขับถ่ายแอมโมเนียของกุ้งทำได้น้อยลงทำให้เกิดการสะสมของ แอมโมเนียในเลือดและเนื้อเยื่อ ส่งผลให้พีเอชของเลือดเพิ่มขึ้นและมีผลต่อการทำงานของเอ็นไซม์ แอมโมเนียจะทำให้การใช้ออกซิเจนของเนื้อเยื่อสูงขึ้น แอมโมเนียจะไปทำลายเหงือกและความสามารถในการขนส่งออกซิเจน และทำให้กุ้งอ่อนแอติดโรคได้ง่าย ระดับความเข้มข้นของแอมโมเนียที่ทำให้สัตว์น้ำตายโดยปกติอยู่ในช่วง 0.4-2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ในรูปของ NH3 ในการทดลองแบบพิษเฉียบพลันระหว่าง 24-72 ชั่วโมง แต่สำหรับกุ้งมีรายงานว่า แอมโมเนียที่ความเข้มข้น 1.29 มิลลิกรัมต่อลิตร ในรูป NH3 จะทำให้กุ้งตายได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ในระยะเวลา 48 ชั่วโมง

10.2 ไนไตรท์ (Nitrite) เป็นสารตัวกลางที่ได้จากขบวนการ Nitrification ของแอมโมเนีย โดยมีแบคทีเรียชนิด Nitrosomonas sp. และ Nitrobactor sp. เป็นสารที่มีพิษต่อสัตว์น้ำความเป็นพิษของไนไตรท์ในกุ้ง Penaeus monodon ระยะ zoae ที่ 24 ชม. Lethal Concentration (LC-50)เท่ากับ 13.20 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร ในบ่อเลี้ยงกุ้งทะเลไนไตรท์มีไม่ควรเกิน 0.1 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร (Chen and Chin, 1988) ความ เป็นพิษของไนไตรท์ต่อสัตว์น้ำเกิดจากการที่ไนไตรท์ไปออกซิไดซ์เหล็กซึ่งเป็น องค์ประกอบฮีโมโกลบิน ทำให้กลายเป็นเมธิโมโกลบินซึ่งไม่สามารถขนถ่ายออกซิเจนได้ ทำให้เกิดการตายเนื่องจากขาดออกซิเจน และคาดว่าขบวนการเช่นเดียวกันนี้อาจเกิดกับฮีโมไซยานินของพวกกุ้งระดับความ เป็นพิษของไนไตรท์จะเพิ่มขึ้นเมื่อค่าออกซิเจนที่ละลายน้ำ (DO) และ ค่าพีเอชน้ำลดลง นอกจากนี้ความเป็นพิษของไนไตรท์จะถูกยับยั้งโดยคลอไรด์ในน้ำ ดังนั้นในน้ำทะเลซึ่งมีคลอไรด์สูงความเป็นพิษของไนไตรท์ต่อสัตว์น้ำจึงค่อน ข้างต่ำ เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งที่ใช้น้ำทะเลโดยตรงนั้นปัญหาของความเป็นพิษของไนไตรท์ ต่อกุ้งจะน้อย แต่สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในระบบความเค็มต่ำซึ่งน้ำในบ่อมีปริมาณของคลอ ไรท์ในน้ำน้อย ปัญหาความเป็นพิษของไนไตรท์ในบ่อกุ้งจึงเกิดได้ง่ายกว่า การใส่เกลือหรือเติมเกลือลงในน้ำจึงมีความจำเป็นอย่างมากหากพบว่าค่าไนไตรท์ ในบ่อสูง

10.3 ไนเตรท (Nitrate) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในวัฏจักรไนไตรเจน ในระบบการเลี้ยงสัตว์น้ำอาจเพิ่มเป็น 2.26-4.52 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร ในบ่อเลี้ยงกุ้งแบบพัฒนา และอาจเพิ่มสูงถึง 500 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร ในบ่อเลี้ยงแบบปิดหมุนเวียน เป็นที่ยอมรับว่าระดับของไนเตรทสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรเกิน 20 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร ความเป็นพิษของไนเตรทในกุ้งกุลดำระยะวัยรุ่นที่ความเค็มต่างๆ กัน พบว่า ระดับปลอดภัยที่ 15, 25, และ 35 ส่วนในล้าน เท่ากับ 145, 158, 232 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร ตามลำดับ (Tsai and Chen, 2002)

11. ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen sulfide, H2S) ในน้ำที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำ จะเกิดกระบวนการเผาผลาญแบบไร้ออกซิเจน (Anaerobic condition) ซึ่งเกิดจาก Heterotrophic bacteria สามารถใช้ออกซิเจนจากซัลเฟตในน้ำ (SO42-) ในกระบวนการเมตาบอลิซึม ทำให้เกิดก๊าซไข่เน่า (H2S) ซึ่งเป็นสารพิษต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ ความเข้มข้นของ H2S เป็นปฏิภาคผกผันกับค่า pH ในน้ำ ในบ่อเลี้ยงกุ้งทะเลไม่ควรมีก๊าซไข่เน่า
ความเป็นพิษของไฮโดรเจนซัลไฟด์ จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับการขาดออกซิเจน เนื่องจากไปขัดขวางออกซิเจนภายในเซลล์ทำให้ปริมาณแลกเตท(lactate)ใน เลือดสูงขึ้นความเป็นพิษของไฮโดรเจนซัลไฟด์จะรุนแรงกว่าการขาดออกซิเจนระดับ ความเข้มข้นของไฮโดรเจนซัลไฟด์สูงสุดที่ไม่เป็นอันตรายต่อกุ้งทะเลคือ 0.033 ppm การเกิดไฮโดรเจนซัลไฟด์ในบ่อเลี้ยงกุ้งทะเล ส่วนใหญ่มาจากการให้อาหารมากเกินไป หรือแพลงก์ตอนพืชตายเป็นจำนวนมากแล้วเกิดการเน่าสลาย พื้นบ่อที่มีสีดำและมีกลิ่นคล้ายไข่เน่า เป็นลักษณะการเกิดไฮโดรเจนซัลไฟด์ การแก้ปัญหาทำได้โดยเพิ่มเครื่องให้อากาศ ดูดเลนหรือตะกอนสีดำที่เน่าเสียพื้นบ่อออกไป(เก็บในบ่อเก็บเลน) และมีการถ่ายน้ำมากขึ้นเพื่อระบายของเสียพื้นบ่อที่อาจจะฟุ้งกระจายในขณะที่ ดูดเลน เพิ่มพีเอชของน้ำโดยเฉพาะในระดับพื้นบ่อโดยการใช้วัสดุปูนละลายน้ำสาดให้ ทั่วบ่อ ความเป็นพิษของไฮโดรเจนซัลไฟด์ก็จะลดลงแต่การป้องกันที่ดีที่สุดคือรักษา พื้นบ่อให้สะอาดและระดับออกซิเจนสูงตลอด ระยะเวลาในการเลี้ยงไม่เกิดปัญหาเรื่องก๊าซไข่เน่า

12. ปริมาณโลหะหนัก (Heavy metal) ความทนทานต่อโลหะหนัก คิดเป็นร้อยละ 50 ของ Lethal Concentration (LC-50) ที่ 90 ชั่วโมงพบว่า ในปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ มีค่าความทนทาน LC-50 ต่อปริมาณการปนเปื้อนดังนี้ แคดเมียม (Cadmium) อยู่ระหว่าง 80-420 ไมโครกรัมต่อลิตร โครเมียม (Chromium) อยู่ระหว่าง 2,000-20,000 ไมโครกรัมต่อลิตร ทองแดง (Copper) อยู่ระหว่าง 300-1,000 ไมโครกรัมต่อลิตร ตะกั่ว (Lead) อยู่ระหว่าง 1,000-40,000 ไมโครกรัมต่อลิตร ปรอท (Mercury) อยู่ที่ 10-40 ไมโครกรัมต่อลิตร และสังกะสีอยู่ระหว่าง 1,000-10,000 ไมโครกรัมต่อลิตร (Boye, 1998)

13. สารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Pesticides) สารเคมีกำจัดศัตรูพืชส่วนใหญ่มาจากกิจกรรมทางด้านเกษตรกรรม โดยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะถูกชะล้างจากผิวดินลงสู่แม่น้ำลำคลอง และทะเล สารเคมีฆ่าแมลงที่มีพิษต่อกุ้งและปลาประกอบด้วย

 

บทความจาก : http://www.aquatoyou.com

แนะนำเครื่องมือวัดค่าสิ่งแวดล้อม

GTech - ตู้ดูดไอสารเคมี - Analog Steel Coated Fume Hood -รุ่น GT-200TA - 2.0 m

ข้อควรระวังในการใช้ตู้ดูดควัน ตู้ดูดไอสารเคมี หรือ Fume Hood

ข้อควรระวังในการใช้ตู้ดูดควัน ตู้ดูดไอสารเคมี หรือ Fume Hood

1. เก็บสิ่งของทุกอย่างออกจากตู้ดูดไอสารเคมี ยกเว้นสิ่งที่ต้องใช้งาน
2. จัดตำแหน่งของ Sash ให้อยู่ระหว่างคุณ และงานของคุณเสมอ
3. ต้องไม่เคลื่อนย้าย Airfoil หรือดัดแปลงตู้ดูดไอสารเคมี ไม่ว่ากรณีใดๆ
4. ควรปิดประตู และหน้าต่างทั้งหมดขณะใช้งานตู้ดูดไอสารเคมี
5. ไม่ควรเดินผ่านบริเวณหน้าตู้ดูดไอสารเคมีที่กำลังเปิดทำงานอยู่
6. ไม่ควรยื่นศีรษะเข้าไปในตู้ดูดไอสารเคมีในขณะใช้งาน
7. ควรปฏิบัติงานบนพื้นโต๊ะภายในตู้ดูดไอสารเคมี
8. เมื่อต้องการเคลื่อนย้านสิ่งของต่างๆ ภายในตู้ดูดไอสารเคมี ควรทำการเคลื่อนย้ายอย่างช้าๆ
9. เมื่อต้องการเปิดหน้าบานตู้ดูดไอสารเคมี ควรเปิดอย่างช้าๆ

 

ตู้ดูดควัน ตู้ดูดไอสารเคมี - Digital Fume Hood

ตู้ดูดควัน ตู้ดูดไอสารเคมี – Fume Hood


สินค้าแนะนำ

GTech - ตู้ดูดไอสารเคมี - Analog Fume Hood - GT240FA - 2.4 m

ความรู้ต่างๆเกี่ยวกับตู้ดูดควัน ตู้ดูดไอสารเคมี หรือ Fume Hood

ความสำคัญของตู้ดูดควัน ตู้ดูดไอสารเคมี หรือ Fume Hood

Fume hood ตู้ดูดไอสารเคมี มีชื่อเรียกหลากหลาย ดังนี้ ตู้ดูดไอกรด, ตู้ดูดควันพิษ, ตู้ดูดไอสารเคมี, ตู้ดูดควัน
ซึ่งจะทำให้เป็นอันตรายต่อผู้ที่อยู่ในห้องปฏิบัติการ ยิ่งเป็นสารเคมีที่มีอันตรายสูง เช่นติดไฟได้ ยิ่งแล้วไปใหญ่ ตู้ดูดไอสารเคมีจึงจัดเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นอย่างยิ่งในห้องปฏิบัติการทั้งหลาย

 

 

 

 

ข้อควรระวังในการใช้ตู้ดูดควัน ตู้ดูดไอสารเคมี หรือ Fume Hood

1. เก็บสิ่งของทุกอย่างออกจากตู้ดูดไอสารเคมี ยกเว้นสิ่งที่ต้องใช้งาน
2. จัดตำแหน่งของ Sash ให้อยู่ระหว่างคุณ และงานของคุณเสมอ
3. ต้องไม่เคลื่อนย้าย Airfoil หรือดัดแปลงตู้ดูดไอสารเคมี ไม่ว่ากรณีใดๆ
4. ควรปิดประตู และหน้าต่างทั้งหมดขณะใช้งานตู้ดูดไอสารเคมี
5. ไม่ควรเดินผ่านบริเวณหน้าตู้ดูดไอสารเคมีที่กำลังเปิดทำงานอยู่
6. ไม่ควรยื่นศีรษะเข้าไปในตู้ดูดไอสารเคมีในขณะใช้งาน
7. ควรปฏิบัติงานบนพื้นโต๊ะภายในตู้ดูดไอสารเคมี
8. เมื่อต้องการเคลื่อนย้านสิ่งของต่างๆ ภายในตู้ดูดไอสารเคมี ควรทำการเคลื่อนย้ายอย่างช้าๆ
9. เมื่อต้องการเปิดหน้าบานตู้ดูดไอสารเคมี ควรเปิดอย่างช้าๆ

เลือกตู้ดูดควัน ตู้ดูดไอสารเคมี หรือ Fume Hood อย่างไร ให้เหมาะกับการใช้งานของเรา

คำถามนี้เป็นคำถามที่ Product Specialist (ผู้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ) พบบ่อยมาก เพราะลูกค้าบางท่านไม่ทราบว่าจะต้องเลือก
Fume Hood แบบไหนดี ถึงจะครอบคลุมงานของเรา แบบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อแบบเกินพอดี วันนี้เรามีคำตอบ เพื่อเป็นทางเลือก และตัวช่วย ในการตัดสินใจซื้อกันค่ะ

ก่อนอื่นต้องขอแจ้งให้ทราบก่อนว่า โดยทั่วไปถ้าแบ่งกลุ่ม ตามลักษณะการใช้งาน จะแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ

กลุ่มที่ 1 ใช้กับตัวอย่างที่ระเบิดได้

กลุ่มที่ 2 ใช้กับตัวอย่างกรดไฮโดรฟลูออริก หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ กรดกัดแก้ว ซึ่งใช้ในการสังเคราะห์ สารต่างๆ ในอุตสาหกรรมยาและพอลิเมอร์ เช่น เทฟลอน

กลุ่มที่ 3 กลุ่มใช้กับกรด ด่างทั่วไป, สารอินทรีย์, สารอนินทรีย์ และพวก solvent ต่าง ๆโดยกลุ่มลูกค้าที่ใช้ส่วนใหญ่ จัดอยู่ในกลุ่มที่ 3

ขอแจกแจงรายละเอียดเบื้องต้น เพื่อให้อ่านในหัวข้อต่อไปเข้าใจง่ายขึ้น แบ่งส่วนประกอบออกเป็น 3 ส่วน คือ

ตู้ดูดไอสารเคมี ตอนบน (ประกอบด้วยผนัง 2 ชั้น ภายในและ ภายนอก)
ตู้ดูดไอสารเคมี ตอนล่าง (ผนังเดียวกับชั้นนอกของตู้ตอนบน)
พื้นที่ใช้งานตู้ดูดไอสารเคมี หรือที่เราเรียกกันว่า work top นั่นเอง

ถ้าจะเลือกในกลุ่มที่ 3 นี้ มีให้เลือก 2 แบบ โดยต่างกันที่วัสดุที่นำมาให้ในการผลิต มีทั้งข้อดี และข้อเสียแตกต่างกันไป ดังนี้

แบบที่ 1 วัสดุทั้งหมด ทำจากไฟเบอร์กลาส (Fiber Glass) ตู้ตอนบน ตอนล่าง และพื้นที่ส่วนใช้งาน (ลูกค้าบางรายเลือก พื้นที่ส่วนใช้งานเป็น Phenolic resin)
ข้อดีคือ น้ำหนักเบา, มีความทนทานต่อสารเคมี ทนทานต่อความชื้นและสภาพดินฟ้า อากาศได้ดี (good weathering resistance)มีความทนทานต่อความร้อน และไม่ลุก ติดไฟ เมื่อต้องการเคลื่อนย้ายทำได้ง่ายเพราะมีน้ำหนักเบา และที่สำคัญราคาต่ำกว่า แบบอื่นๆ
ข้อเสียคือ เนื่องจากแบบไฟเบอร์กลาส (Fiber Glass) วิธีการผลิตคือต้องหล่อไฟเบอร์กลาส (Fiber Glass) ในแบบสำเร็จที่มี งานจะคล้ายงาน Hand made มุม หรือเหลี่ยม ต่างๆ อาจไม่เนี้ยบเท่าตู้เหล็ก

แบบที่ 2 วัสดุภายนอกทำจากเหล็กพ่นสี Epoxy วัสดุภายในทำจากไฟเบอร์กลาส (Fiber Glass) ตู้ตอนล่าง ทำจากเหล็กพ่นสี Epoxy และพื้นที่ส่วนใช้งานทำจากไฟเบอร์กลาส (Fiber Glass) หรือ Phenolic resin
ข้อดีคือ ความสวยงาม
ข้อเสียคือ น้ำหนักมาก และราคาสูง

เมื่อเทียบข้อดี ข้อเสีย ทั้ง 2 แบบแล้ว ตู้แบบไฟเบอร์กลาส (Fiber Glass)ก็ยังคงเป็นที่นิยมในกลุ่มลูกค้าที่สุด

Fume hood

Fiber Glass Fume hood

Fume hood

Epoxy Fume Hood

 


สินค้าแนะนำ