GTech - ตู้ดูดไอสารเคมี - Analog Fume Hood - GT240FA - 2.4 m

ความรู้ต่างๆเกี่ยวกับตู้ดูดควัน ตู้ดูดไอสารเคมี หรือ Fume Hood

ความสำคัญของตู้ดูดควัน ตู้ดูดไอสารเคมี หรือ Fume Hood

Fume hood ตู้ดูดไอสารเคมี มีชื่อเรียกหลากหลาย ดังนี้ ตู้ดูดไอกรด, ตู้ดูดควันพิษ, ตู้ดูดไอสารเคมี, ตู้ดูดควัน
ซึ่งจะทำให้เป็นอันตรายต่อผู้ที่อยู่ในห้องปฏิบัติการ ยิ่งเป็นสารเคมีที่มีอันตรายสูง เช่นติดไฟได้ ยิ่งแล้วไปใหญ่ ตู้ดูดไอสารเคมีจึงจัดเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นอย่างยิ่งในห้องปฏิบัติการทั้งหลาย

 

 

 

 

ข้อควรระวังในการใช้ตู้ดูดควัน ตู้ดูดไอสารเคมี หรือ Fume Hood

1. เก็บสิ่งของทุกอย่างออกจากตู้ดูดไอสารเคมี ยกเว้นสิ่งที่ต้องใช้งาน
2. จัดตำแหน่งของ Sash ให้อยู่ระหว่างคุณ และงานของคุณเสมอ
3. ต้องไม่เคลื่อนย้าย Airfoil หรือดัดแปลงตู้ดูดไอสารเคมี ไม่ว่ากรณีใดๆ
4. ควรปิดประตู และหน้าต่างทั้งหมดขณะใช้งานตู้ดูดไอสารเคมี
5. ไม่ควรเดินผ่านบริเวณหน้าตู้ดูดไอสารเคมีที่กำลังเปิดทำงานอยู่
6. ไม่ควรยื่นศีรษะเข้าไปในตู้ดูดไอสารเคมีในขณะใช้งาน
7. ควรปฏิบัติงานบนพื้นโต๊ะภายในตู้ดูดไอสารเคมี
8. เมื่อต้องการเคลื่อนย้านสิ่งของต่างๆ ภายในตู้ดูดไอสารเคมี ควรทำการเคลื่อนย้ายอย่างช้าๆ
9. เมื่อต้องการเปิดหน้าบานตู้ดูดไอสารเคมี ควรเปิดอย่างช้าๆ

เลือกตู้ดูดควัน ตู้ดูดไอสารเคมี หรือ Fume Hood อย่างไร ให้เหมาะกับการใช้งานของเรา

คำถามนี้เป็นคำถามที่ Product Specialist (ผู้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ) พบบ่อยมาก เพราะลูกค้าบางท่านไม่ทราบว่าจะต้องเลือก
Fume Hood แบบไหนดี ถึงจะครอบคลุมงานของเรา แบบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อแบบเกินพอดี วันนี้เรามีคำตอบ เพื่อเป็นทางเลือก และตัวช่วย ในการตัดสินใจซื้อกันค่ะ

ก่อนอื่นต้องขอแจ้งให้ทราบก่อนว่า โดยทั่วไปถ้าแบ่งกลุ่ม ตามลักษณะการใช้งาน จะแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ

กลุ่มที่ 1 ใช้กับตัวอย่างที่ระเบิดได้

กลุ่มที่ 2 ใช้กับตัวอย่างกรดไฮโดรฟลูออริก หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ กรดกัดแก้ว ซึ่งใช้ในการสังเคราะห์ สารต่างๆ ในอุตสาหกรรมยาและพอลิเมอร์ เช่น เทฟลอน

กลุ่มที่ 3 กลุ่มใช้กับกรด ด่างทั่วไป, สารอินทรีย์, สารอนินทรีย์ และพวก solvent ต่าง ๆโดยกลุ่มลูกค้าที่ใช้ส่วนใหญ่ จัดอยู่ในกลุ่มที่ 3

ขอแจกแจงรายละเอียดเบื้องต้น เพื่อให้อ่านในหัวข้อต่อไปเข้าใจง่ายขึ้น แบ่งส่วนประกอบออกเป็น 3 ส่วน คือ

ตู้ดูดไอสารเคมี ตอนบน (ประกอบด้วยผนัง 2 ชั้น ภายในและ ภายนอก)
ตู้ดูดไอสารเคมี ตอนล่าง (ผนังเดียวกับชั้นนอกของตู้ตอนบน)
พื้นที่ใช้งานตู้ดูดไอสารเคมี หรือที่เราเรียกกันว่า work top นั่นเอง

ถ้าจะเลือกในกลุ่มที่ 3 นี้ มีให้เลือก 2 แบบ โดยต่างกันที่วัสดุที่นำมาให้ในการผลิต มีทั้งข้อดี และข้อเสียแตกต่างกันไป ดังนี้

แบบที่ 1 วัสดุทั้งหมด ทำจากไฟเบอร์กลาส (Fiber Glass) ตู้ตอนบน ตอนล่าง และพื้นที่ส่วนใช้งาน (ลูกค้าบางรายเลือก พื้นที่ส่วนใช้งานเป็น Phenolic resin)
ข้อดีคือ น้ำหนักเบา, มีความทนทานต่อสารเคมี ทนทานต่อความชื้นและสภาพดินฟ้า อากาศได้ดี (good weathering resistance)มีความทนทานต่อความร้อน และไม่ลุก ติดไฟ เมื่อต้องการเคลื่อนย้ายทำได้ง่ายเพราะมีน้ำหนักเบา และที่สำคัญราคาต่ำกว่า แบบอื่นๆ
ข้อเสียคือ เนื่องจากแบบไฟเบอร์กลาส (Fiber Glass) วิธีการผลิตคือต้องหล่อไฟเบอร์กลาส (Fiber Glass) ในแบบสำเร็จที่มี งานจะคล้ายงาน Hand made มุม หรือเหลี่ยม ต่างๆ อาจไม่เนี้ยบเท่าตู้เหล็ก

แบบที่ 2 วัสดุภายนอกทำจากเหล็กพ่นสี Epoxy วัสดุภายในทำจากไฟเบอร์กลาส (Fiber Glass) ตู้ตอนล่าง ทำจากเหล็กพ่นสี Epoxy และพื้นที่ส่วนใช้งานทำจากไฟเบอร์กลาส (Fiber Glass) หรือ Phenolic resin
ข้อดีคือ ความสวยงาม
ข้อเสียคือ น้ำหนักมาก และราคาสูง

เมื่อเทียบข้อดี ข้อเสีย ทั้ง 2 แบบแล้ว ตู้แบบไฟเบอร์กลาส (Fiber Glass)ก็ยังคงเป็นที่นิยมในกลุ่มลูกค้าที่สุด

Fume hood

Fiber Glass Fume hood

Fume hood

Epoxy Fume Hood

 


สินค้าแนะนำ

Tags: , ,